วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการจด Domain Name





          เพื่อให้ผู้ประกอบการรู้จักความหมายและความสำคัญของการจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain name) รวมไปถึงเทคนิคในการตั้งชื่อโดเมนเนมเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้สำหรับการตั้งชื่อโดเมนเนมของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของตนได้

          Domain name มีความสำคัญเปรียบเสมือนชื่อของเจ้าของสินค้า หรือชื่อบริษัท เนื่องจากในโลกออนไลน์ ลูกค้าจะไม่จดจำชื่อเจ้าของสินค้าหรือชื่อบริษัท แต่จะใช้ โดเมนเนมในการเรียก และเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ ปัจจุบันการจดโดเมนเนม มีทางเลือกทั้งแบบโดเมนเนมจริง และเป็น subdomain ซึ่งแตกต่างกันคือ โดเมนเนมจริง จะเป็น ชื่อตามด้วยนามสกุล เช่น abc.com โดยสามารถตั้งชื่อและจดทะเบียนกับผู้ให้บริการได้หากโดเมนเนมไม่ซ้ำกับที่มีผู้จดทะเบียนไปแล้ว การตั้งชื่อโดเมนเนมใช้อักษรภาษาอังกฤษ a-z โดยไม่คำนึงว่าเขียนด้วยตัวใหญ่หรือตัวเล็ก ใช้ตัวเลข 0-9 และ ใช้ - ได้เท่านั้น (การเข้าสู่เว็บไซต์ abc.com จะพิมพ์ว่า ABC.com หรือ AbC.com ก็ได้ จะเข้าสู่เว็บไซต์เดียวกัน)‏

แนวทางการตั้งชื่อโดเมนเนม มีดังนี้    

          1. ชื่อแสดงความเป็นธุรกิจ และ keyword (คีย์เวิร์ดคือ สิ่งที่ลูกค้าต้องการ เช่น ชื่อสินค้าบริการ) ตัวอย่างเช่น www.tourkrabi.com แสดงความเป็นธุรกิจทัวร์โดยเน้นไปที่จังหวัดกระบี่อย่างชัดเจน หรือ www.weddingthai.net แสดงให้เห็นธุรกิจเกี่ยวกับงานแต่งงาน แม้ว่าจะยังบอกไม่ได้ว่าเป็นการให้บริการด้านงานแต่งงาน หรืออาจจะเป็นให้บริการถ่ายรูปแต่งงาน หรือแม้แต่บริการหาคู่ แต่ก็อยู่ในธุรกิจนี้ การมีชื่อที่แสดงความเป็นธุรกิจช่วยให้ลูกค้าเว็บไซต์จดจำได้ง่าย และมีโอกาส click เลือกจากหน้า Search Engine ได้มากกว่าชื่อโดเมนเนมที่ไม่มีความเป็นธุรกิจ อย่างไรก็ตามการใช้ชื่อโดเมนเนมลักษณะนี้มีข้อเสียคือ ไม่มีความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ ดังนั้นจึงสามารถถูกลอกเลียนแบบได้ง่ายเช่นอาจจะมีคุ่แข่งจดโดเมนเนม www.tourthaikrabi.com หรือ www.krabitour.com หรือ www.travelkrabi.com และอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น เจ้าของเว็บไซต์กลุ่มหนึ่งจึงหลีกเลี่ยงที่จะใช้ชื่อแสดงความเป็นธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียวในการจดโดเมนเนม

          2. สร้าง Brand แสดงความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์ เจ้าของเว็บไซต์ที่หลีกเลี่ยงการจดชื่อโดเมนเนมที่แสดงความเป็นธุรกิจเพียงอย่างเดียว จะมาใช้ชื่อที่สร้าง Brand และแสดงความเป็นเอกลักษณ์ เช่น www.krabicosmo.com , www.ghousehuahin.com , www.tobestudio.net ในกรณีนี้ ถ้าลูกค้าเว็บไซต์จดจำเอกลักษณ์ของชื่อโดเมนเนมได้ เช่น จำได้ว่า มีคำว่า cosmo อยู่ในชื่อคุ่กับ krabi ก็มีโอกาสที่จะกลับมาที่เว็บไซต์นั้น ๆ มากขึ้น เหมือนกับที่ร้าน 7-eleven ตั้งชื่อร้านว่า 7-eleven โดยไม่ใช้ชื่อว่า ร้านสะดวกซื้อ หรือ convenient store

          3. จดจำง่าย ออกเสียงง่าย สะกดง่าย หากสามารถตั้งชื่อโดเมนเนมให้สั้นได้มากที่สุด จะทำให้จดจำได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม ชื่อโดเมนเนมที่ประกอบด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษ 2 หรือ 3 หรือ 4 ตัว และนามสกุล dot com ได้ถูกจดไปหมดแล้ว เช่น aa.com , ab.com , abc.com , mno.com , abcd.com , wxyz.com, minz.com etc จึงไม่จำเป็นต้องหาชื่อโดเมนเนมดังกล่าว ยกเว้นใช้นามสกุลอื่น เจ้าของเว็บไซต์ควรพิจารณาโดเมนเนมที่มีชือ 5 ตัวขึ้นไป การสะกดชื่อควรเป็นมาตรฐานทั่วไป เช่น www.thaibusiness.com ถ้าชื่อถูกจดไปแล้วและเจ้าของเว็บไซต์ต้องการใช้ thaibuziness.com ก็ต้องพิจารณาว่าธุรกิจของตนตรงกับธุรกิจของ thaibusiness.com หรือไม่ หากตรงกัน มีโอกาสที่จะทำให้ลูกค้าเข้าสู่เว็บของผู้อื่นได้อย่างน่าเสียดาย อนึ่งลูกค้าเว็บไซต์โดยทั่วไปอาจจะตั้งข้อสังเกตถึงความไม่น่าเชื่อถือของโดเมนเนมที่เขียนผิดจากปกติ
   
          สำหรับการตั้งชื่อออกเสียงเป็นภาษาไทย ต้องระวังการเขียนให้ง่ายที่สุด เช่น www.sanook.com หรือ www.kapook.com หากไม่มั่นใจว่าลูกค้าจะสะกดถูกต้องจดโดเมนเนมไว้หลายแบบและนำเข้าสู่เว็บไซต์เดียวกัน เช่น www.BaanThai.com , www.BanThai.com (บ้านไทย) เป็นต้น แม้แต่ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษแต่ออกเสียงคล้ายกัน ก็ต้องระวังการสะกด และจดโดเมนเนมไว้หลายแบบเช่นกัน เช่น www.ReadyPlanet.com และ www.LadyPlanet.com ก็จะเข้าสู่เว็บไซต์เดียวกันคือผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป

        4. ไม่ copy เลียนแบบเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง เช่น ไม่ตั้งชื่อโดเมนเนมว่า www.AmazonThaiBook.com เพราะมีโอกาสโดนฟ้องร้องสูงมากเนื่องจากทำธุรกิจเดียวกับเว็บไซต์หลักคือ Amazon.com นอกจากนั้น ภาพลักษณ์ของโดเมนเนมที่เลียนแบบยังขาดความน่าเชื่อถือ

         5. ไม่ยาวเกินไป หากชื่อยาวต้องจดจำง่าย เช่น www.OpenWorldThailand.com, www.GoodRateHotel.com , www.FlowerHandmade.com จะเห็นได้ว่า ชื่อเว็บไซต์แม้จะยาวแต่ประกอบด้วยคำภาษาอังกฤษที่จำง่ายเช่น Thailand , Handmade ซึ่งประกอบกันแล้วทำให้ชื่อยาว แต่เข้าใจง่าย อย่างไรก็ตามการประกอบกันยาวเกินไปก็ยังไม่นับว่าเป็นชื่อที่ดีนัก เช่น www.TheBestFlowerHandmadeInThailand.com ก็นับว่ายาวเกินไป

         6. ระวังเรื่อง - (Hyphen) หรือการเติม S หากต้องการจดชื่อที่มี S หรือใช้สัญญลักษณ์ - ดังกล่าว ต้องพิจารณาว่า เว็บไซต์อื่นที่จดทะเบียนไปแล้วและไม่มีสัญลักษณ์ทำธุรกิจเดียวกันกับเราหรือไม่ ถ้าใช่ มีโอกาสเกิดความสับสนแก่ลูกค้า ทางออกที่ดีคือ จดโดเมนเนมทั้งที่มีและไม่มี s ไว้ด้วย เช่น www.ReadyPlanet.com และ www.ReadyPlanets.com ก็จะเข้าสู่เว็บไซต์เดียวกันคือผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป ส่วนชื่อที่มี - หากไม่จำเป็นไม่ควรใช้ และต้องพิจารณาว่าเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อแบบไม่มี - ทำธุรกิจเดียวกับเราในประเทศของเราหรือไม่ ถ้าใช่ ยิ่งไม่ควรใช้ชือทีมี - อย่างยิ่ง

        7. ชื่อแสดงความน่าเชื่อถือ ลูกค้าเว็บไซต์โดยเฉพาะด้านธุรกิจย่อมต้องการความน่าเชื่อถือก่อนจะตัดสินใจทำธุรกรรมต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น ไม่ตั้งชื่อที่แสดงความเป็นเล่น ๆ ยกเว้นเป็นเว็บ content หรือ social ที่ต้องการภาพลักษณ์ที่สบาย ๆ เช่น ระวังถ้าต้องการตั้งชื่อว่า AccountantKukKik.com (กุ๊กกิ๊ก) จะขัดกับภาพลักษณ์ที่ต้องการความจริงจังในการทำธุรกิจ

        8. ตั้งชื่อที่ไม่มีความหมายได้ หากชื่อนั้นจดจำง่าย และเจ้าของเว็บไซต์มีการทำตลาดอย่างต่อเนื่องได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ต่างประเทศที่ชื่อไม่มีความหมายแต่ประสบความสำเร็จมีมากมาย เช่น www.google.com , www.ebay.com , www.yahoo.com เป็นต้น

นามสกุลของเว็บไซต์ แบ่งได้เป็นหลายกลุ่มคือ .com .net .org .biz .info .co.th .go.th .gov .tv .asia

เว็บไซต์แต่ละสกุลนั้นหมายถึงอะไร  การที่มีหลายนามสกุลนั้น เพื่อบ่งบอกกิจกรรมของเว็บไซต์ ว่าเกี่ยวข้องกับอะไร ซึ่งบางทีอาจจะไม่สามารถบ่งบอกได้ชัดเจนนัก เนื่องจากบางนามสกุลไม่ได้มีข้อบังคับชัดเจน ว่าต้องใช้เพื่อกิจกรรมนั้น ๆ เพียงอย่างเดียว แต่โดยหลักทั่วไปของการเลือกนามสกุลต่าง ๆ สามารถแบ่งได้คร่าว ๆ ดังนี้
    .com (.com = Commercial )ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า
    .net (.net = Network) ใช้สำหรับเว็บไซต์ขององค์กรใด หรือบริษัทใด ที่ทำงานเกี่ยวกับเครือข่าย หรือ Network
    .org (.org = Organization) ใช้สำหรับเว็บไซต์องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร เช่น สมาคม หรือมูลนิธิ
    .biz (.biz = Business) ใช้สำหรับเว็บไซต์ขององค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า
    .info (.info  = Information) ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลเป็นหลัก
    .edu (.edu = Education) ใช้สำหรับเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา
    .gov (.gov  = Government) ใช้สำหรับเว็บไซต์ของรัฐบาล
    .mil (.mil = Military) ใช้สำหรับหน่วยงานทางทหาร 

          สำหรับโดเมนรหัสประเทศนั้น แสดงให้เห็นว่า โดเมนนั้นเปิดทำการในประเทศใด เช่น .uk คือเว็บไซต์ของประเทศอังกฤษ .jp คือเว็บไซต์ของประเทศญี่ปุ่น สำหรับของไทย ใช้ .th ซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมาก เช่น แบ่งกลุ่มเป็น .or.th , .ac.th , .co.th , .go.th , .in.th ฯลฯ รายละเอียดการจดโดเมนเนมที่ใช้นามสกุล .th ศึกษาได้จาก http://www.thnic.co.th/index.php?page=policy

   การจดทะเบียนโดเมนเนมจะมีค่าบริการรายปี ขึ้นกับผู้ให้บริการ โดยประมาณอยู่ที่ 450 บาทต่อปี เมื่อจดทะเบียนแล้ว ผู้จดจะได้เป็นเจ้าของโดเมนเนมและสามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นภายหลังได้
    - ในกรณีที่ไม่ต้องการมี domain name เป็นของตัวเอง สามารถใช้ sub domain name แทนได้ เช่น abc.domainservice.com
    - ในกรณีนี้ เจ้าของ domain name คือ domainservice.com แต่เปิด sub domain name ให้กับเจ้าของเว็บไซต์ใช้ในชื่อ abc ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือ มักไม่เสียค่าบริการ เนื่องจากเจ้าของโดเมนเนม เปิดให้ใช้ฟรี แต่มีข้อเสียคือไม่ได้เป็นเจ้าของชื่ออย่างแท้จริง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของโดเมนเนมเจ้าของ ย้ายผู้ให้บริการเว็บไซต์ไม่ได้ ไม่สามารถนำเชื่อโดเมนเนมนี้ไปใช้กับผู้ให้บริการเว็บไซต์รายอื่น ชื่อจะถูกยกเลิก เมื่อโดเมนเนมจริงถูกยกเลิก sub domain มักอยู่รวมกันใน Server หนึ่ง ไม่มีการบริหาร bandwidth อาจเกิดปัญหากับเว็บไซต์ด้านความเร็วและเสถียรภาพ มีโอกาสติดอันดับใน search engine น้อยกว่า มี features และ พื้นที่ใช้งานน้อย ขึ้นกับเจ้าของ domainname ให้บริการอาจไม่รับผิดชอบคุณภาพการบริการ
ค้นหาผู้ให้บริการ จดโดเมนเนม ได้จากการ search คำว่า จดโดเมนเนม หรือคำใกล้เคียงกัน ใน Search Engine


ตัวอย่างผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปซึ่งตรวจสอบ domain name ได้



ใส่ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการในช่องเลือกชื่อเว็บไซต์
Ex. service of check domain name-2


ระบบจะแสดงผล ว่าโดเมนเนมดังกล่าวยังว่างอยู่หรือไม่
ตัวอย่างผู้ให้บริการจดโดเมนเนมต่างประเทศ ซึ่งตรวจสอบโดเมนเนมได้ และ แนะนำชื่อโดเมนเนมที่ยังว่างอยู่ที่ใกล้เคียงกับที่ต้องการ



แสดงโดเมนเนมที่ใกล้เคียงกับที่ต้องการ และแสดงผลว่ายังว่างหรือไม่ว่าง > ผลการตรวจสอบโดเมนเนมที่ต้องการ....
ขอบคุณ : คุณบุรินทร์ เกล็ดมณี www.ReadyPlanet.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น