วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

มารู้จัก " PHP "

" PHP "



PHP คืออะไร     
            PHP นั้นเป็นภาษาสำหรับใช้ในการเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ สามารถเขียนได้หลากหลายโปรแกรมเช่นเดียวกับภาษาทั่วไป อาจมีข้อสงสัยว่า ต่างจาก HTML อย่างไร คำตอบคือ HTML นั้นเป็นภาษาที่ใช้ในการจัดรูปแบบของเว็บไซต์ จัดตำแหน่งรูป จัดรูปแบบตัวอักษร หรือใส่สีสันให้กับ เว็บไซต์ของเรา แต่ PHP นั้นเป็นส่วนที่ใช้ในการคำนวน ประมวลผล เก็บค่า และทำตามคำสั่งต่างๆ อย่างเช่น รับค่าจากแบบ form ที่เราทำ รับค่าจากช่องคำตอบของเว็บบอร์ดและเก็บไว้เพื่อนำมาแสดงผลต่อไป แม้แต่กระทั่งใช้ในการเขียน CMS ยอดนิยมเช่นDrupal , Joomla พูดง่ายๆคือเว็บไซต์จะโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ต้องมีภาษาPHP ส่วน HTML หรือ Javascript ใช้เป็นเพียงแค่ตัวควบคุมการแสดงผลเท่านั้น

นอกจากภาษา PHP แล้วยังมีภาษาอื่นอีกหรือไม่
           คำตอบคือมีครับ เช่น ASP , JSP แต่ที่นิยมมาก คือ PHP เพราะเป็นภาษาที่สามารถศึกษาได้ง่าย ทำงานได้มีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในปัจจุบัน รวมทั้งมีชุมชนคนใช้งาน และคู่มือที่ ดีมาก และสำคัญสุดคือฟรีครับ การใช้งานภาษา PHP ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

การจะเขียน PHP ต้องมีอะไรบ้าง
          PHP นั้นจำเป็นจะต้องมีการประมวลผลดังนั้นการใช้งานเราจะต้องมี Web Server เพื่อให้ตัว PHP สามารถทำงานได้ ต่างจาก HTMLเราจะต้องลงโปรแกรม ให้เครื่องที่เราใช้งานอยู่นั้นทำงานเหมือนกับWeb Server ซะก่อนซึ่งโปรแกรมนั้นชื่อว่า Apache   หลังจากที่เราทำให้เครื่องของเรานั้นเหมือนกับ Web Server แล้วจะเก็บข้อมูลเว็บไซต์เช่น คำตอบของเว็บบอร์ด จะเก็บอย่างไร คำตอบคือต้องมีโปรแกรมฐานข้อมูลอีกตัวเข้ามาช่วย ซึ่งโปรแกรมที่แนะนำคือMySQL ครับฟรีอีกเช่นกัน 

การพัฒนาเว็บไซต์ด้วย PHP
           สำหรับผู้พัฒนาเว็บไซต์ด้วย PHP นั้นปรกติจะทำการจำลองเครื่องของตัวเองให้เป็น Web Server ระหว่างการพัฒนาเพื่อดูการทำงาน ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาครับ จากนั้นจึงจะอัพไฟล์ทั้งหมดลงใน Web Server จริง ในส่วนของ Web Server นั้นทาง Hellomyweb 

ที่มา : http://srp29749.blogspot.com/




IP ADDRESS


           IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP
           ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร
           เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น networkใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126
            สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบางApplication และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ
             ตัวอย่าง IP Address
  •     Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
  •     Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
  •     Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx
            จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบNetwork ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ในnetwork วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้Network ID byte)










วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเขียนเว็บด้วยภาษา Html เบื้องต้น

เริ่มต้น พื้นฐาน HTML
           
      ภาษาคอมพิวเตอร์ทุก ๆ ภาษาจะมีโครงสร้างเฉพาะ ภาษา HTML ก็เช่นกัน โครงสร้างของภาษา HTML นั้นเป็นโครงสร้างที่ใช้งานง่าย และเข้าใจได้ไม่ยากนัก รูปแบบโครงสร้างของภาษา HTML มีดังนี้
 รูปแบบโครงสร้าง HTML

  <html>
  <head><title> ....ตรงนี้คือส่วนของข้อความที่จะปรากฏที่ Title Bar ของ Browser....</title></head>
       <body>
         ....ตรงนี้คือ ส่วนข้อความหรือเนื้อหา รายละเอียดที่ต้องการให้ปรากฏที่ Web browser ....       </body>
  </html>
HTML มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเนื้อหา และส่วนที่เป็นคำสั่งหรือแท็กรูปแบบโครงสร้างของเอกสาร HTML จะเป็นดังนี้


<HTML>........</HTML>
เป็นคำสั่งเริ่มต้นและสิ้นสุดเอกสาร HTML
<HEAD>.......</HEAD>
ส่วนของ HEAD ของเอกสาร HTML เป็นส่วนที่เราจะสามารถใส่คำอธิบายเว็บเพจ เช่น Title หรือชื่อเรื่องของเอกสาร, Keyword สำหรับการค้นหา ซึ่งเราจะเขียน TAG ในกลุ่มของ HEAD ไว้ภายใน TAG <HEAD> …… </HEAD>
<TITLE>........</TITLE>
เป็นส่วนแสดงชื่ออกสารโดยจะแสดงที่ไตเติล บาร์ของ วินโดว์ที่ เปิดเอกสารนี้อยู่เท่านั้น
<BODY>.......</BODY>
เป็นส่วนที่จะแสดงผลออกไปยังหน้า Web Browser เช่น การแสดงผลรูปภาพ การแสดงผล Contents การสร้างจุดเชื่อมโยง ซึ่งเราจะเขียน TAG ในกลุ่มของ Body ไว้ภายใน TAG <BODY> ….. </BODY>

          เมื่อลอง สังเกตดูเราจะพบสัญลักษณ์ <...> และ </...> เป็นคู่ จากโครงสร้างจะมี <...> 4ตำแหน่ง และ </...>อีก 4 ตำแหน่ง ซึ่งลักษณะการเขียน HTML จะมีลักษณะแบบนี้ สัญลักษณ์ <...> เราเรียกว่าการเปิด Tag ส่วน</...> คือการปิด Tag นั้นเอง โดยส่วนใหญ่รูปแบบของการเขียน HTML จะมีการเปิดและปิด Tag แต่ก็มียกเว้นบ้าง สำหรับแท็กบางแท็ก ที่ไม่จำเป็นต้องมีการปิดแท็ก
ตารางแสดงตัวอย่าง Tag และคำอธิบาย
<html>...</html> 
=  Tag เปิด เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของเอกสาร
<head>...</head>
=  เป็น Tag ที่กำหนดชื่อเรื่อง
<title>...</title>
=  เป็น Tag ที่ใช้แสดงชื่อเอกสารที่ Title Bar ของ Windows ที่เปิดอยู่
<body>...</body>
=  Tag เปิด เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด เนื้อหาของเอกสาร
<br>
=  เป็น Tag สำหรับขึ้นบรรทัด ใหม่
<hr>
=  เป็น Tag กำหนดให้เขียนเส้น ใน Web Page
<b>...</b>
=  เป็น Tag สำหรับทำตัวอักษร ให้หนา
<I>...</I>
=  เป็น Tag สำหรับทำตัวอักษร ให้เอียง
<u>...</u>
=  เป็น Tag สำหรับทำตัวอักษร มีขีดเส้นใต้
<a>...</a>
=  เป็น Tag กำหนดการเชื่อมโยง
<img>...</img>
=  เป็น Tag กำหนดการเชื่อมโยง ด้วยรูปภาพ
<table>...</table>
=  เป็น Tag สำหรับการสร้าง ตาราง
<td>...</td>
=  เป็น Tag สำหรับกำหนด คอลัมน์
<form>...</form>
=  เป็น Tag สำหรับสร้าง Form
<input>...</input>
=  เป็น Tag สำหรับกำหนด input ใน Form
<frame>...</frame>
=  เป็น Tag สำหรับสร้าง Frame
<h1>...</h1>
=   เป็น Tag สำหรับกำหนดขนาดตัวอักษร ซึ่งมีค่าถึง 6 ขนาด  เวลาเปลี่ยนขนาดก็แค่เปลี่ยนตัวเลขครับ
     
คำสั่งขีดเส้น คั่น<HR>เช่นเส้นใต้บรรทัดนี้ไงใช้โดยไม่ ต้องมี</HR> มาปิดท้าย
<HR WIDTH=50%> เมื่อต้องการปรับขนาดเส้นให้ยาว 50 % ของหน้าต่าง
<HR WIDTH=200> เมื่อต้องการปรับขนาดเส้นให้ยาว 200 พิกเซล
<HR SIZE=10> เมื่อต้องการปรับความหนาของเส้นให้เท่ากับ 10  พิกเซล
<HR ALIGN=RIGHT width=50%> เมื่อต้องการกำหนดให้เส้นชิดขวา และมีความยาว 50 %
<HR NOSHADE> เพื่อแสดงเส้นที่ไม่มีเฉดสี เป็นเส้นทึบไปเลย
       นิยมใช้ การจัดรูปแบบต่างๆ เพื่อความเป็นระเบีบยและง่ายต่อการมองดูข้อมูลประเภทรูปภาพที่สัมพันธ์กัน
<TABLE>...</TABLE>                             เปิดรูปแบบตาราง-ปิดตาราง
<TABLE BORDER>...</TABLE>              ตารางแบบมีเส้นขอบ
<TABLE WIDTH=100%>...</TABLE>     ตารางมีขนาดเต็มหน้าต่าง100%
<TR>ส่วนคอลัมน์</TR>                              ครอบส่วนที่เป็นแถวเดียวกัน
<TD>เนื้อหาในแต่ละคอลัมน์</TD>                 ครอบในแต่ละกรอบคอลัมน์
<TD COLSPAN=2>...</TD>                    กำหนดให้กรอบนั้นยาวเท่ากับ2 คอลัมน์ในแถวถัดไป
<TD ROWSPAN=2>...</TD>                  กำหนดให้กรอบนั้นกว้างเท่ากับ 2 แถว

การจัดวางข้อความในตาราง
<table BORDER COLS=1 WIDTH="100%">
<tr><td ALIGN=CENTER>กึ่งกลาง</td></tr>             กึ่งกลาง
<tr><td ALIGN=LEFT>ชิดซ้าย</td></tr>                    ชิดซ้าย
 <tr><td ALIGN=RIGHT>ชิดขวา</div></td></tr>       ชิดขวา
 </table>

การปรับแนววาง ข้อมูลบนตาราง
<table BORDER COLS=3 WIDTH="100%"><tr>
<td VALIGN=TOP>ชิดบน<br><br></td>                    ชิดบน
<td VALIGN=CENTER>กึ่งกลาง</td>                           กึ่งกลาง
<td VALIGN=BOTTOM>ชิดล่าง</td>                           ชิดล่าง
</tr>
</table>
          การปรับแต่งตารางนั้น เราสามารถทำได้โดยเิพิ่มคุณสมบัติของตารางหรือ การกำหนด attribute ของตาราง เพิ่มเติมเข้าไปในแท็กต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มในส่วนของ แท็ก <table> แท็ก <tr> และ แท็ก <td> เป็นต้น เราลองมาดูตัวอย่างต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
 การใส่สี ให้กรอบตาราง
         ในการใส่สีให้กับกรอบตาราง นั้นมีข้อควรระวัง โดยต้องตรวจสอบกรอบของตารางด้วยว่าไม่ได้กำหนดเป็น 0 border="0" เพราะหากกำหนดเป็น 0 จะทำให้ไม่เห็นเส้นขอบ ในตัวอย่างนี้ก็มี attribute ต่าง ๆ เกี่ยวกับแท็ก <table> อยู่หลาย ๆ attribute ซึ่งแต่ละ attribute มีคุณสมบัติดังนี้
border สำหรับกำหนดความหนาของกรอบตาราง โดยการกำหนดขนาดด้วยหน่วยของ Pixel โดยมีรูปแบบดังนี้ <table border = "0"> กรณีไม่ต้องการให้มีกรอบ หรือ <table border = "1"> ค่าตัวเลขมากกรอบจะมีความหนา
bordercolor สำหรับกำหนดสีของเส้นกรอบของตาราง โดยใช้รูปแบบการกำหนดชื่อสี หรือการกำหนดแบบรหัสสี โดยมีรูปแบบดังนี้ <table bordercolor = "red"> หรือ <tablebordercolor = "#ff0000">
cellspacing สำหรับกำหนดระยะห่างระหว่างเซลล์แต่ละเซลล์ โดยจะใช้ค่าเดียวกันทุกเซลล์ทั้งตาราง โดยมีรูปแบบดังนี้ <table cellspacing = "0"> หรือ <table cellspacing = "3">
cellpadding สำหรับกำหนดระยะห่างระหว่างขอบของเซลล์กับเนื้อหา (อาจเป็นข้อความหรือรูปภาพ) ที่อยู่ภายในเซลล์นั้น ระยะห่างในที่นี้หมายถึงระยะห่างจากขอบของเซลล์ทั้ง 4 ด้าน โดยมีรูปแบบดังนี้ <table cellpadding = "0"> หรือ <table cellpadding = "3">
 การใส่สีพื้นหลังให้กับตาราง

  <table border="1" bgcolor="#0000ff" bordercolor="#FF0000" cellpadding="0"  cellspacing="0" >
       <tr>
              <td>...ข้อมูล...</td>
              <td>...ข้อมูล...</td>
       </tr>  </table>
               จากตัวอย่างเป็นการเพิ่ม attribute bgcolor สำหรับกำหนดสีืพื้นหลังของตาราง โดยใช้รูปแบบการกำหนดชื่อสี หรือการกำหนดแบบรหัสสี โดยมีรูปแบบดังนี้ <table bgcolor = "green">หรือ <table bgcolor = "#00ff00">
 การใส่ ภาพเป็นพื้นหลังให้กับตาราง

  <table border="1" background="lilies.jpg" bordercolor="#FF0000" cellpadding="0"   cellspacing="0" >
       <tr>
              <td>...ข้อมูล...</td>
              <td>...ข้อมูล...</td>
       </tr>  </table>
จากตัวอย่างเป็นการเพิ่ม attribute background สำหรับกำหนดใส่รูปให้กับพื้นหลังของตาราง โดยมีรูปแบบดังนี้ <table backgound = "ชื่อรูป"สำหรับการนำรูปมาใช้สามารถใช้ได้กับสกุล .gif .jpg .png เป็นต้น
 การปรับ ขนาดของตาราง

  <table border="1" cellpadding="0"   cellspacing="0" width="200" height="30">
       <tr>
              <td>...ข้อมูล...</td>
              <td>...ข้อมูล...</td>
       </tr>  </table>
จากตัวอย่างเป็นการเพิ่ม attribute width และ height ซึ่งแต่ละ attribute มีคุณสมบัติดังนี้

width สำหรับกำหนดความกว้างของตาราง โดยสามารถกำหนดเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ โดยมีรูปแบบดังนี้ <table width = "150"> หรือ <table width = "50%">
height สำหรับกำหนดความสูงของตาราง โดยสามารถกำหนดเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ โดยมีรูปแบบดังนี้ <table hight = "150"> หรือ <table hight = "10%">
 Tip HTML
การเพิ่ม Attribute ในแท็กต่าง ๆ ของภาษา HTMLการเพิ่ม Attribute ในแท็กต่าง ๆ เราสามารถพิ่มเข้ามาได้เรื่อย ๆ โดยไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับว่า Attribute ใดจะต้องเขียนก่อนหรือหลัง โดยการเพิ่ม Attribute เข้าไปสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงใช้ Space หรือช่องว่างเป็นตัวแบ่งระหว่าง Attribute แต่ล่ะตัว

      การใส่ภาพในเอกสาร HTMLในบทความตอนนี้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาพ ดังนี้จึงขอให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของภาพที่จะนำมาใช้ทำเว็บกันซะเลย ซึ่งไฟล์ภาพที่เป็นมาตรฐานที่สามารถนำำมาใส่ในเว็บมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด โดยแต่ละภาพก็มีลักษณะการนำมาใช้ที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. GIF (Graphic Intechange Format)
ไฟล์ภาพชนิดนี้ นิยมใช้สำหรับภาพกราฟิคที่เป็นลักษณะลายเล้น ข้อความตัวอักษร หรือภาพการ์ตูนต่าง ๆ ซึ่งมีสีไม่มากนัก เพราะไฟล์ GIF มีค่าสีสูงสุดเพียง 256 สี ดังนั้นทำให้ภาพกราฟิคที่เราเซฟเป็นไฟล์ประเภท GIF เป็นภาพที่มีลักษณะทึบ และไม่สามารถไล่เฉดสีได้มากนัก แต่ข้อดีของไฟล์ประเภทนี้คือ เราสามารถสร้างและเซฟภาพประเภทนี้ให้มีลักษณะพื้นหลังโปร่งใส (Transparent) ซึ่งสามารถนำภาพเหล่านี้ไปใช้กับพื้นหลังสีอะไรก็ได้ ไฟล์ภาพประเภทนี้มีไฟล์นามสกุลเป็น .gif

2. JPG (Joint Photographic Expert Group)
ไฟล์ประเภทนี้สามารถแสดงผลของสีได้สูงสุดถึง16.7 ล้านสี ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับภาพที่มีเฉดสีเยอะ เช่น ภาพถ่ายต่าง ๆ หรือภาพอื่น ๆ ที่มีสีเยอะ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกที่จะบีบอัดไฟล์ภาพให้มีขนาดเล็กลงได้ แต่คุณภาพจะลดลง และไฟล์ประเภทนี้ไม่สามารถทำเป็นแบบพื้นหลังโปร่งใส่ได้ ไฟล์ภาพประเภทนี้มีไฟล์นามสกุลเป็น .jpg และ .jpeg  

3. PNG (Portable Network Graphic)
ไฟล์ประเภทนี้จะมีให้เลือกเซฟ 2 แบบคือ แบบ PNG-8 ซึ่งสามารถแสดงผลสีได้สูงสุด 256 สี และยังสามารถเซฟเป็นแบบ PNG-24 ซึ่งสามารถแสดงผลสีได้สูงสุดถึง 16.7 ล้านสีเหมือนไฟล์ JPG นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็นภาพพื้นหลังโปร่งใส เหมือนกับ GIF ได้ด้วย แต่ไฟล์ภาพประเภทนี้จะมีขนาดไฟล์ใหญ่กว่าภาพ JPG มาก ดังนั้นจึงมักใช้เซฟภาพซึ่งมีขนาดเล็ก ๆ แต่มีการใช้สีมาก เช่น ภาพไอคอน ต่าง ๆ ไฟล์ประเภทนี้มีนามสกุล .png

<P>                                                      ขึ้นย่อหน้าใหม่ โดยจะเว้นบรรทัดให้หนึ่งบรรทัด
<BR>                                                     ขึ้นบรรทัดใหม่
<CENTER> อะไรก็ได้</CENTER>        จัดให้อยู่กึ่งกลางของหน้าต่าง

รูปภาพและการ จัดวาง 
<IMG SRC="url ชื่อรูปภาพ" ALT="ชื่อแสดง" ALIGN="ระดับภาพ">
ชื่อรูปภาพ ต้องระบุพาธและชื่อไฟล์.สกุล(jpg หรือ gif) ควรเป็นตัวเลขทั้งหมดเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง 
ชื่อแสดง จะปรากฏในกรณีเล่นโหมด Text หรือรูปภาพยังโหลดขึ้นมาไม่สมบูรณ์ 
ระดับภาพ มี (Top,Middle,Bottom) จะกำหนดระดับภาพเมื่อวางติดกับข้อความ
<IMG SRC="ชื่อภาพ" WIDTH="ความกว้างภาพ" HEIGHT="ความยาวของภาพ">
ระบุเป็นพิกเซล เช่น  <IMG SRC="DookDik_016_onion.gif" WIDTH="64"           HEIGHT="64">